วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3
วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2562 
เวลา 08.30 - 12.30 น.

👉ความรู้ที่ได้รับ


📚 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์ 📚

ทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด 💬
     เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับโครงสร้างทางสติปัญญา  ทำให้ทราบความสามารถของสมองที่แตกต่างกันถึง  120  ความสามารถ ตามแบบจำลองโครงสร้างทางสติปัญญาในลักษณะ 3 มิติ  คือ 
✔ มีเนื้อหา  4  มิติ    
✔ วิธีการคิด  5  มิติ     
✔ ผลทางการคิด  6  มิติ     
    รวมความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์ คือ วิธีการคิดอเนกนัย  เป็นการคิดหลายทิศทาง  หลายแง่หลายมุม คิดได้กว้างไกล  ซึ่งลักษณะความคิดนี้จะนำไปสู่การประดิษฐ์คิดค้นสิ่งแปลกใหม่
🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈

ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์ 💬
     ทอร์แรนซ์ กล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นกระบวนการของความรู้สึกไวต่อปัญหา  หรือสิ่งที่ขาดหายไป   แล้วเกิดความพยายามในการสร้างแนวคิด  ตั้งสมมุติฐาน  ทดสอบสมมุติฐาน และเผยแพร่ผลที่ได้ให้ผู้อื่นรับรู้และเข้าใจ  ทำให้เกิดแนวทางในในการค้นคว้าสิ่งแปลกๆใหม่ๆต่อไป
     ขั้นความคิดสร้างสรรค์นี้ มีลักษณะคล้ายคลึงกับขั้นการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์            ทอร์แรนซ์จึงเรียกขั้นการคิดสร้างสรรค์นี้ว่า กระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์


🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈

ทฤษฎีความคิดสองลักษณะ 💬
    เป็นทฤษฎีที่กำลังได้รับความสนใจ เพราะเป็นการค้นพบความรู้เกี่ยวกับการทำงานของสมองมนุษย์
    👧 สมองซีกขวา ซึ่งเป็นส่วนของจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ สามารถพัฒนาได้มากในช่วงวัย 4-7 ปี    
    👨 สมองซีกซ้ายที่เป็นส่วนของการคิดที่เป็นเหตุผล จะพัฒนาในช่วง 9-12 ปี  และสมองจะเจริญเติบโตเต็มที่เมื่อเด็กอายุ  11-13 ปี


🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈

ทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์ 💬
       การ์เนอร์ศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายของสติปัญญา 9 ด้าน ได้แก่ ภาษา ดนตรี กีฬาการควบคุมร่างกาย มนุษยสัมพันธ์ ธรรมชาติศึกษา พลิกแพลงแตกต่างในการแก้ปัญหา ตรรกวิทยาคณิตศาสตร์ มิติสัมพันธ์ และจิตวิเคราะห์


🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈

ทฤษฎีโอตา 💬
     ความคิดสร้างสรรค์มีอยู่ในตัวทุกคนสามารถพัฒนาได้
ขั้นตอนที่ 1 การตะหนักตระหนัก : ตระหนักถึงความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ที่มีต่อตนเองทั้งในอดีตและปัจจุบัน
ขั้นตอนที่ 2 ความเข้าใจมีความรู้อย่างลึกซึ้ง
ขั้นตอนที่ 3 วิธีรเทคนิค
ขั้นตอนที่ 4 ตระหนักในความจริงของสิ่งต่างๆ


🌷🌼🌻🌷🌼🌻🌷🌼🌻🌷🌼🌻🌷🌼🌻🌷🌼🌻🌷🌼🌻🌷🌼🌻🌷🌼🌻


🎨พัฒนาการทางศิลปะ🎨

วงจรของการขีดๆเขียนๆ   
    เคลล็อก (Kellogg)  ศึกษางานขีดๆเขียนๆของเด็กปฐมวัย และจำแนกขั้นตอนออกเป็น 4 ขั้ตอน ทำให้เข้าใจถึงความสำคัญของงานขีดๆเขียนๆทางศิลปะที่มีผลเชื่อมโยงกับพัฒนาการของเด็ก 4 ขั้นตอน มีดังนี้  
✔ ขั้นขีดเขี่ย  
✔ ขั้นเขียนเป็นรูปร่าง  
✔ ขั้นรู้จักออกแบบ 
✔ ขั้นการวาดแสดงเป็นภาพ


🌷🌼🌻🌷🌼🌻🌷🌼🌻🌷🌼🌻🌷🌼🌻🌷🌼🌻🌷🌼🌻🌷🌼🌻🌷🌼🌻

พัฒนาการด้านร่างกาย
     👨กีเซลล์และคอร์บิน สรุปพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวของเด็กปฐมวัย ตามลักษณะพฤติกรรมทางการใช้กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็ก ดังนี้
ด้านการตัด 
      - อายุ 3-4 ปี  ตัดกระดาษเป็นชิ้นส่วนได้
      - อายุ 4-5 ปี  ตัดกระดาษเป็นเส้นตรงได้   
      - อายุ 5-6 ปี  ตัดกระดาษตามเส้นโค้งหรือรูปร่างต่างๆได้
การขีดเขียน  ✏️ 
      - อายุ 3-4 ปี  เขียนรูปวงกลมตามแบบได้
      - อายุ 4-5 ปี  เขียนรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสตามแบบได้   
      - อายุ 5-6 ปี  เขียนรูปสามเหลี่ยมตามแบบได้
การพับ 🚀
      - อายุ 3-4 ปี  พับและรีดสันกระดาษสองทบตามแบบได้
      - อายุ 4-5 ปี  พับและรีดสันกระดาษสามทบตามแบบได้   
      - อายุ 5-6 ปี  พับและรีดสันกระดาษได้คล่องแคล่ว หลายแบบ  
การวาด 🖌
      - อายุ 3-4 ปี  วาดภาพคนมีศีรษะ ตา ขา ปาก
      - อายุ 4-5 ปี  วาดภาพคนมีศีรษะ ตา ปาก จมูก ปาก ลำตัว เท้า
      - อายุ 5-6 ปี  วาดภาพคนมีศีรษะ ตา ปาก ลำตัว เท้า จมูก แขน  มือ คอ  ผม


🌼บรรยากาศการทำกิจกรรม🌼



 



🌷🌼🌻🌷🌼🌻🌷🌼🌻🌷🌼🌻🌷🌼🌻🌷🌼🌻🌷🌼🌻🌷🌼🌻🌷🌼🌻

👉การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมทุกกิจกรรมค่ะ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจเรียนค่ะ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนดีค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความ 5 เหตุผลดีๆ ที่พ่อแม่ควรวาดรูปกับลูกทุกวัน 🍟🍔🍟🍔🍟🍔🍟🍔🍟🍔🍟🍔🍟🍔 1. การวาดรูปช่วยพัฒนาทักษะกล้ามเนื้อมัดเล็ก (F...